งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) |
|||||||||||||||||||||||||||||
ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรม "การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่าหากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว" โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริ จัดตั้ง "งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยให้เยาวชนนั้นได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความสวยงามอันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) เห็นความสำคัญของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จึงได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 เลขที่สมาชิก 7-10110-002 การดำเนินงานอิงรูปแบบของ "สวนพฤกษศาสตร์" โดยมีการรวบรวมพันธุ์ไม้ มีแหล่งข้อมูลพันธุ์ไม้ที่จัดเก็บในห้องพิพิธภัณฑ์พรรณไม้ มีการศึกษาต่อเนื่อง มีการเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดองมีการศึกษาต่อเนื่อง และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของโรงเรียน มีการรวบรวมพรรณไม้ หายากเข้ามาปลูกในโรงเรียน โดยจัดเป็นกลุ่ม ได้แก่ สวนกัลปพฤกษ์ สวนพรรณไม้หอม สวนพรรณไม้เลื้อย สวนสมุนไพร เป็นต้น มีการบันทึกรายงานข้อมูลมีมุมสำหรับศึกษาค้นคว้า และมีการนำไปใช้ประโยชน์เป็นสื่อการสอนในวิชาต่าง ๆ |
|||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้นักเรียนเห็นคุณค่าของพืชพรรณไม้ 2. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้ และการเก็บรักษาเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและ เผยแพร่สู่ชุมชน 3. เพื่อใช้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ โดยฝึกทักษาการสังเกต เรียนรู้ตั้งคำถามและหา คำตอบเป็นข้อมูลสะสมอันจะก่อให้เกิดความรู้และเชี่ยวชาญในพรรณไม้นั้น |
|||||||||||||||||||||||||||||
การดำเนินงาน ดำเนินงานตามองค์ประกอบของ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
|||||||||||||||||||||||||||||
1. การจัดทำป้ายชื่อ ในขั้นแรกป้ายชื่อเป็นชื่อพื้นเมือง จากนั้นให้นักเรียนทำป้ายข้อมูลชั่วคราวโดยค้นคว้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ ชื่อสามัญ และชื่อวิทยาศาสตร์ ต้นที่ไม่สามารถหาข้อมูลได้จะจัดทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดอง ส่งไปโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ฯ เพื่อให้นักพฤกษศาสตร์อนุกรมวิธานพืช จำแนกหาชื่อวิทยาศาสตร์และข้อมูลต่าง ๆ |
|||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||
ป้ายชื่อพื้นเมือง |
|||||||||||||||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||||||||||||||
ป้ายข้อมูลชั่วคราว |
|||||||||||||||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||||||||||||||
พรรณไม้ดอง |
|||||||||||||||||||||||||||||
พรรณไม้แห้ง |
|||||||||||||||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||||||||||||||
นักเรียนทำพรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดอง |
|||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||
พิพิธภัณฑ์พรรณไม้ |
|||||||||||||||||||||||||||||
2. การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน มีการรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียนโดยจัดเป็นกลุ่ม ในปีการศึกษา 2547 โรงเรียนมีสวนพฤกษศาสตร์ทั้งหมด 10 ส่วน ได้แก่ สวนพรรณไม้หอม สวนเกษตร สวนกัลปพฤกษ์ สวนกล้วย สวนลานปฏิบัติธรรม สวนลานแดง สวนลานเหลือง สวนพรรณไม้เลื้อย สวนป่า สวนสมุนไพร และมีการจัดทำแผนผังพันธุ์ไม้เพื่อแสดงตำแหน่งต้นไม้ในโรงเรียน |
|||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||
แผนผังแสดงตำแหน่งสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน |
|||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||
ตัวอย่างแผนผังสวนเกษตรแสดงตำแหน่งของต้นไม้ |
|||||||||||||||||||||||||||||
ภาพสวน 10 สวน |
|||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||
3. การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ นักเรียนศึกษาข้อมูลพันธุ์ไม้ ด้านชีววิทยา นิเวศวิทยา การขยายพันธุ์ และการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นในสมุดบันทึกข้อมูลพันธุ์ไม้ของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ฯ |
|||||||||||||||||||||||||||||
4. การเขียนรายงาน นักเรียนเขียนรายงานผลการศึกษาพันธุ์ไม้ และเก็บข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าของนักเรียนและบุคคลทั่วไป เป็นการศึกษาต่อเนื่องและทำให้เกิดผู้เชี่ยวชาญของพืชชนิดนั้น ๆ |
|||||||||||||||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||||||||||||||
5. การนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ มีการนำพืชในสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนไปใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน โดยบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2547 โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) บูรณาการหน่วยการเรียนเรื่อง"ทานตะวัน" เพื่อร่วมเทอดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสที่มีพระชนมายุ 50 พระชันษา โดยศึกษาในหัวข้อ ทรัพยากรไทย : ทุกสรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว เน้นการศึกษาความสัมพันธ์ของพืชกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและชีวภาพ |
|||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||